Credit : Geronimo Villanueva/James Tralie/NASA's Goddard Space Flight Center
การเห็นช่วงเวลาอาทิตย์อุทัยหรืออาทิตย์อัสดงบนโลกของเรานั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ แต่อาจมีคนสงสัยว่าถ้าเป็นบนดาวดวงอื่น อย่างดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราในระบบสุริยะ ว่าลักษณะช่วงดวงอาทิตย์ตกบนดาวเหล่านั้นจะมีลักษณะอย่างไร เหมือนกับโลกของเราหรือไม่
เรื่องนี้ไม่เกินกำลังของนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด หน่วยงานขององค์การนาซา ได้ไขความกระจ่างให้ด้วยการสร้างแบบจำลองช่วงดวงอาทิตย์ตกดินด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า Planetary Spectrum Generator (PSG) สามารถสังเคราะห์สเปกตรัมของดาวเคราะห์อย่างบรรยากาศและพื้นผิว สำหรับช่วงความยาวคลื่นที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จำลองการถ่ายโอนแสงผ่านชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ หรือแม้แต่ดาวเคราะห์นอกระบบ รวมถึงดวงจันทร์และดาวหาง เพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวดาวสร้างขึ้น
อย่างเช่นในภาพแอนิเมชันจำลองดวงอาทิตย์ตกดินบนดาวยูเรนัส ที่เป็นสีฟ้าเข้มจากนั้นค่อยๆ เลือนกลายเป็นสีฟ้าสดและเห็นเป็นสีฟ้าอมเขียว ซึ่งเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ของแสงอาทิตย์กับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์ หรือบนดาวอังคาร จะเห็นว่าเมื่อดวงอาทิตย์ตกจะเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีน้ำเงินเนื่องจากอนุภาคฝุ่นบนดาวอังคารกระจายสีน้ำเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
อ่านเพิ่มเติม...
June 30, 2020 at 12:01PM
https://ift.tt/38dzhsp
นาซาจำลองดวงอาทิตย์ตกบนดาวดวงอื่น - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment