Pages

Tuesday, July 28, 2020

ระบบดาวคู่ที่มองไม่เห็น ปรากฏการณ์ 'Gaia16aye' ห่างจากโลก 2000 ปีแสง - thebangkokinsight.com

sallstargossip.blogspot.com

ระบบดาวคู่ที่มองไม่เห็น “NARIT” ร่วมทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบจากปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ ตามทฤษฎีของไอสไตน์ เรื่องเลี้ยวเบน ของแสงรอบวัตถุมวลมาก

ดร.ศุภชัย อาวิพันธุ์ นักวิจัยด้านดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ c สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT เปิดเผยว่า NARIT ได้ร่วมกับกับทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ สามารถบันทึกภาพ ปรากฏการณ์สว่างขึ้น อย่างประหลาด ของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งกว่า 25,000 ภาพ และศึกษาจนค้นพบ “ระบบดาวคู่ที่มองไม่เห็น”

ระบบดาวคู่ที่มองไม่เห็น

การค้นพบดังกล่าว เป็นการใช้ กล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเกาเหมยกู่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ณ หอดูดาวแห่งชาติ ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และกล้องโทรทรรศน์อีกกว่า 50 ตัวทั่วโลก บันทึกภาพปรากฏการณ์สว่างขึ้นอย่างประหลาดของดาวฤกษ์ดวงหนึ่งกว่า 25,000 ภาพ

ทั้งนี้ ในเดือนสิงหาคม 2559 กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Gaia ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency: ESA) ได้ค้นพบการสว่างขึ้นของดาวฤกษ์ 2MASS19400112 + 3007533 ในกลุ่มดาวหงส์ และตั้งชื่อย่อปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า “Gaia16aye”

การสว่างขึ้นดังกล่าว องค์การอวกาศยุโรป ได้แจ้งเตือน ให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลก เฝ้าสังเกตการณ์ ร่วมถึงนักวิจัยของ สดร. ส่งผลให้ กล้องโทรทรรศน์ มากกว่า 50 ตัว ทั่วโลก รวมทั้งกล้องโทรทรรศน์ควบคุมระยะไกลอัตโนมัติ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเกาเหมยกู่ มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน และกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ได้เฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ Gaia16aye ยาวนานกว่า 500 วัน

จากการเฝ้าสังเกตการณ์ดังกล่าว พบว่า เกิดจาก ปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ (Microlensing) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ ที่เกิดจากการเลี้ยวเบนของแสง รอบวัตถุมวลมาก ตามทฤษฎีของไอสไตน์ เมื่อมีวัตถุ มาอยู่ระหว่างโลก กับดาวฤกษ์พื้นหลัง สนามโน้มถ่วงของวัตถุดังกล่าว จะทำให้แสงเลี้ยวเบนคล้ายเลนส์นูน ทำให้ผู้สังเกตบนโลก เห็นดาวฤกษ์พื้นหลังสว่างขึ้น

“การศึกษา ปรากฏการณ์ไมโครเลนส์ สามารถช่วยให้ นักดาราศาสตร์ ค้นพบวัตถุ ที่มีความสว่างน้อย เช่น ดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล หรือแม้กระทั่งหลุมดำได้”ดร.ศุภชัย กล่าว

จากข้อมูลภาพถ่ายปรากฏการณ์ Gaia16aye กว่า 25,000 ภาพ ในจำนวนมีภาพถ่ายมากกว่า 1,000 จากกล้องโทรทรรศน์ของ สดร. พบว่า ดาวฤกษ์มีการสว่างขึ้นจำนวน 5 ครั้ง เมื่อนำข้อมูลดังกล่าว มาสร้างแบบจำลอง พบว่าวัตถุที่เป็นเลนส์ ประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวง ที่มีมวล 0.57 และ 0.36 เท่าของดวงอาทิตย์

สำหรับดาวทั้งสอง ห่างกันประมาณ 2 เท่า ของระยะห่างระหว่างโลก กับดวงอาทิตย์ และมีคาบโคจรรอบกันยาวนาน 2 ปี แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากโลก ของดาวคู่ดังกล่าว ที่มากกว่า 2,000 ปีแสง ทำให้แสงที่มาจากดาวฤกษ์ทั้งสอง สว่างน้อยกว่าความสามารถของกล้องโทรทรรศน์ ที่จะสังเกตเห็นดาวคู่ดังกล่าวได้

ระบบดาวคู่ดังกล่าว ไม่ใช่วัตถุแรกที่นักวิจัย สดร. ร่วมกับนักดาราศาสตร์นานาชาติ ค้นพบด้วยเทคนิคไมโครเลนส์ ก่อนหน้านี้ ได้ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบ ชื่อว่า “Kojima-1Lb” ด้วยเทคนิคไมโครเลนส์มาแล้วเช่นกัน การศึกษาดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นถึง ศักยภาพของกล้องโทรทรรศน์ ของ สดร. ที่สามารถทำงานวิจัยร่วม ในระดับนานาชาติได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Add Friend Follow


July 28, 2020 at 10:19AM
https://ift.tt/2Dbl18k

ระบบดาวคู่ที่มองไม่เห็น ปรากฏการณ์ 'Gaia16aye' ห่างจากโลก 2000 ปีแสง - thebangkokinsight.com

https://ift.tt/2YfjZyP

No comments:

Post a Comment