ก่อนหน้านี้มีการศึกษาเผยแพร่ออกมาว่าดาวอังคารเคยเป็นดาวที่ชุ่มชื่นเพราะมีแหล่งน้ำมากมายบนพื้นผิว แต่สิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายเมื่อหลายพันล้านปีที่แล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงภูมิทัศน์รกร้างแห้งแล้ง ก่อความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับน้ำอันมหาศาลเหล่านั้น ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา มีสมมติฐานใหม่ที่น่าสนใจ
ในช่วงต้นประวัติศาสตร์ดาวอังคารอาจมีน้ำเป็นของเหลวอยู่บนพื้นผิว ในปริมาณที่เทียบเท่ากับครึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเพียงพอที่จะปกคลุมโลกทั้งใบด้วยน้ำที่อาจลึกถึงเกือบ 1.5 กิโลเมตร เป็นไปได้ว่า แหล่งน้ำประมาณ 30-99% ในขณะนี้อาจติดอยู่ภายในแร่ธาตุตรงเปลือกดาวอังคาร สวนทางกับแนวคิดที่เชื่อกันมานานว่าน้ำเหือดหายไปโดยหลบหนีผ่านบรรยากาศชั้นบนเมื่อ 3,000 ล้านปีก่อน นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอม ปริมาณไอโซโทปของไฮโดรเจนหรือตัวแปรที่เรียกว่าดิวเทอเรียม (deuterium) ที่มีอยู่บนดาวอังคารให้เบาะแสบางอย่างเกี่ยวกับการสูญเสียน้ำ เพราะไฮโดรเจนธรรมดาสามารถหลุดรอดผ่านชั้นบรรยากาศไปสู่อวกาศได้ง่ายกว่าดิวเทอเรียม
ข่าวแนะนำ
จากแบบจำลองชี้ว่าจริงๆ แล้วน้ำจำนวนมากไม่ได้หนีไปจากดาวอังคาร แต่ไปอยู่ในแร่ธาตุต่างๆ ที่มีน้ำเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างแร่ โดยเฉพาะดินเหนียว และซัลเฟตหรือเกลือของกรดซัลฟิวริก ทว่าปริมาณน้ำภายในหินหรือแร่ธาตุมีน้อยนิด ดังนั้น การจะสกัดน้ำออกมาในปริมาณที่มองเห็นได้ ก็ต้องให้ความร้อนแก่หินจำนวนมาก.
อ่านเพิ่มเติม...
March 23, 2021 at 12:35PM
https://ift.tt/3f2ZcIU
สมมุติฐานใหม่ ชี้น้ำบนดาวอังคารหายไปไหน - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment