ในขณะมีการรวบรวมความรู้มากมายเกี่ยวกับโลกและดาวอังคาร แต่ไม่ค่อยมีใครรู้เกี่ยวกับดาวเคราะห์ที่มีน้ำเป็นน้ำแข็งอย่างดาวเนปจูนและยูเรนัส ทว่าเมื่อเร็วๆ นี้ มีการศึกษาใหม่ถึงปฏิกิริยาที่เป็นไปได้ระหว่างน้ำและหินที่เป็นโครงสร้างภายในที่อยู่ลึกของดาวทั้ง 2 ดวงนี้ โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ในเกาหลีใต้ และวิทยาลัยการสำรวจอวกาศและโลก แห่งมหาวิทยาลัยรัฐอริโซนา ในสหรัฐอเมริกา
เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเคมีของชั้นน้ำลึกบนดาวเคราะห์เหล่านี้ และพิจารณาว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างหินกับน้ำในสภาวะที่รุนแรงอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร ทีมได้สร้างอุณหภูมิและความดันภายในของดาวเนปจูนและยูเรนัสขึ้นใหม่ในห้องปฏิบัติการ เพื่อเลียนแบบสภาพของชั้นน้ำลึกบนดาวทั้งคู่ โดยแช่แร่ธาตุที่ก่อตัวเป็นหินโอลิวีน (olivine) และ ferropericlase ซึ่งเป็นแมกนีเซียมลงในน้ำและบีบอัดด้วยเครื่องมือที่มีหัวเป็นเพชร 2 ชิ้น ให้มีแรงดันสูงมาก แล้วก็ตรวจดูปฏิกิริยาของแร่ธาตุและน้ำ จากนั้นวัดด้วยรังสีเอ็กซ์ในขณะที่เลเซอร์ให้ความร้อนแก่ธาตุที่อุณหภูมิสูง ปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นทำให้แมกนีเซียมในน้ำมีความเข้มข้นสูง ทีมจึงสรุปว่ามหาสมุทรบนดาวเคราะห์ที่อุดมด้วยน้ำอาจไม่มีคุณสมบัติทางเคมีเช่นเดียวกับมหาสมุทรของโลก และความดันสูงจะทำให้มหาสมุทรบนดาวเหล่านั้นอุดมไปด้วยแมกนีเซียม
แมกนีเซียมอาจละลายได้ในชั้นน้ำของดาวยูเรนัสและเนปจูน สิ่งเหล่านี้อาจช่วยไขปริศนาว่าเหตุใดชั้นบรรยากาศของดาวยูเรนัสจึงเย็นกว่าเนปจูนมาก แม้ว่าทั้งคู่จะเป็นดาวเคราะห์ที่อุดมด้วยน้ำก็ตาม อย่างไรก็ตาม การค้นพบนี้อาจให้เบาะแสด้านองค์ประกอบของมหาสมุทรบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อุดมด้วยน้ำเช่นกัน.
ภาพ Credit : Shim/ASU
อ่านเพิ่มเติม...
May 31, 2021 at 10:01AM
https://ift.tt/34uvuG3
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาแมกนีเซียมในน้ำลึก บนดาวเนปจูนและดาวยูเรนัส - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment