องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกาหรือองค์การนาซา และองค์การอวกาศยุโรปหรืออีเอสเอ เพิ่งประกาศอนุมัติในการส่ง 3 ยานอวกาศใหม่สำหรับภารกิจสำรวจดาวศุกร์ไปหมาดๆ โดยจะเป็นการสังเกตพื้นผิวของดาวเคราะห์เพื่อนบ้านของเราด้วยความละเอียดสูง แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็พยายามค้นคว้าหาข้อมูลของแฝดน้องของโลกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้อมูลในทางธรณีวิทยา
เมื่อเร็วๆนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบัน นำโดยนักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต ในสหรัฐอเมริกา ได้วิเคราะห์พื้นผิวดาวศุกร์ครั้งใหม่ซึ่งแสดงให้เห็นหลักฐานการเคลื่อนที่และแปรสัณฐานของเปลือกดาวในรูปแบบของก้อนเปลือกที่กระแทกเข้าหากันเหมือนก้อนน้ำแข็งแตก การค้นพบนี้มีความสำคัญเนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าดาวศุกร์มีเปลือกนอกแข็งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นเดียวกับดาวอังคารหรือดวงจันทร์บริวารของโลก ดังนั้น การเคลื่อนที่ของก้อนเปลือกดาวเหล่านี้อาจบ่งชี้ว่าดาวศุกร์ยังคงขับเคลื่อนทำงานในทางธรณีวิทยาอยู่
นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ความหนาของเปลือกดาวเคราะห์นั้นขึ้นอยู่กับความร้อนเป็นหลัก ทั้งภายในและบนพื้นผิว พวกเขามองในแง่ดีว่ารูปแบบเปลือกดาวที่คล้ายกับก้อนน้ำแข็งบนดาวศุกร์ อาจสามารถให้เบาะแสในการทำความเข้าใจการแปรผันของเปลือกดาวศุกร์เอง หรือแม้แต่บนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ รวมถึงบนโลกของเราได้.
ภาพประกอบ Credit : NC State University, based upon original NASA/JPL imagery
อ่านเพิ่มเติม...
June 29, 2021 at 10:01AM
https://ift.tt/3612VRE
สันนิษฐานดาวศุกร์ยังคงขับเคลื่อนกิจกรรมในทางธรณีวิทยา - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment