เมื่อเอ่ยถึงดวงดาวที่มีศักยภาพอยู่อาศัยได้ ดาวศุกร์มักถูกปัดตกไปโดยปริยาย แม้มองเหนือพื้นผิวดาวที่ระยะ 40-60 กิโลเมตรจะเห็นว่าบรรยากาศบนดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายโลกมากที่สุดกว่าใครในระบบสุริยะ แต่เพื่อนบ้านของเราเป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนและมีผลกระทบจากสภาวะเรือนกระจก มีแรงกดทับพื้นผิว เมฆเป็นกรดซัลฟิวริก ซึ่งล้วนไม่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิต การส่งยานอวกาศไปจอดบนดาวศุกร์ก็มักใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น
แต่ก็มีคำถามว่ามีโอกาสที่สิ่งมีชีวิตประเภทอื่นอย่างจุลินทรีย์จะอยู่รอดได้โดยปราศจากตัวช่วยในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์หรือไม่ มีความพยายามสำรวจความเป็นไปได้ที่จุลินทรีย์จะอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นของเหลวภายในหยดเมฆกรดซัลฟิวริก หนึ่งในทีมวิจัยที่มาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ ในสหรัฐอเมริกา ตั้งสมมติฐานว่าหากสิ่งมีชีวิตอยู่ในละอองเมฆ ก็ต้องไขปริศนาเกี่ยวกับการตกตะกอนของหยดของเหลวที่มีความโน้มถ่วง จนถึงบริเวณที่ร้อนและไม่อาจอาศัยอยู่ได้ ทีมเสนอว่าวงจรชีวิตดาวศุกร์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ จุลินทรีย์จะเหือดแห้งกลายเป็นสปอร์เมื่อลงไปถึงหมอกควันชั้นล่างที่ค่อนข้างนิ่ง ตรงนั้นเรียกว่าคลังเก็บวัสดุสปอร์ที่แห้งแล้วจะอาศัยอยู่ที่นั่นจนกว่าบางส่วนจะเคลื่อนย้ายกลับไปยังชั้นเมฆที่มีอุณหภูมิปานกลางและอาศัยอยู่ได้ ซึ่งพวกมันส่งเสริมการก่อตัวของเมฆกลายเป็นละอองเมฆที่ห่อหุ้มเพื่อให้วงจรชีวิตดำเนินต่อไป
การศึกษาก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่สรุปว่าเป็น ไปได้ที่จุลินทรีย์ในชั้นบรรยากาศดาวศุกร์อาจมีอายุสั้นๆ พวกมันจะตกลงไปในชั้นหมอกควันที่ต่ำกว่าและความร้อนเผาหรือถูกบดขยี้ในความดันบรรยากาศ ที่สูงขึ้น ทว่าตอนนี้มีงานวิจัยอื่นพบว่าจุลินทรีย์สามารถมีวงจรชีวิตที่ยั่งยืน ทำให้พวกมันดำรงอยู่ได้เป็นเวลาหลายล้านปี.
(ภาพ : Credit : Japanese Space Agency)
อ่านเพิ่มเติม...
September 02, 2020 at 12:01PM
https://ift.tt/3bkwQ98
มีสิ่งมีชีวิตบนเมฆของดาวศุกร์หรือไม่ - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment