ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ของเรา และโคจรในระยะทางประมาณ 1,400 ล้านกิโลเมตรจากดวงอาทิตย์ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 29 ปีของโลก ทำให้แต่ละฤดูกาลบนดาวเสาร์ ยาวนานกว่าโลกถึง 7 ปี ดาวเสาร์ก็มีการเอียงเหมือนกับโลกเมื่อฤดูกาลเปลี่ยนผันไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของแสงแดดอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศ
นักวิทยาศาสตร์ด้านดาว เคราะห์จากศูนย์การบินอวกาศก็อดเดิร์ด ขององค์การนาซา ระบุว่าขณะที่ดาวเสาร์เคลื่อนตัวไปยังซีกเหนือ จะทำให้เห็นบริเวณขั้วดาวและเส้นศูนย์สูตรเปลี่ยนแปลงไป และจะเห็นว่าบรรยากาศแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาที่สั้นกว่า ข้อมูลกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลแสดงให้เห็นว่าในช่วงปี พ.ศ.2561-2563 เส้นศูนย์สูตรมีความสว่างขึ้น 5-10% และลมก็เปลี่ยนไปเล็กน้อย ในปี 2561 ลมที่วัดได้ใกล้เส้นศูนย์สูตรอยู่ที่ประมาณ 1,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สูงกว่าลมที่วัดโดยยานอวกาศแคสสินีในช่วงปี 2547-2552 ซึ่งอยู่ที่ราว 1,300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนในปี 2562-2563 แรงลมลดลงกลับไปที่ความเร็วของที่ยานแคสสินีวัดได้
ข่าวแนะนำ
ดาวเสาร์เป็นดาวก๊าซยักษ์ที่อุดมด้วยไฮโดรเจนและฮีเลียมแม้ว่าจะมีแกนหินอยู่ลึกเข้าไปข้างในก็ตาม เช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดีซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ทว่าพายุขนาดมหึมาบางครั้งปะทุขึ้นจากส่วนลึกภายในชั้นบรรยากาศ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละปีในแถบสีของดาวเสาร์ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจของนักวิทยาศาสตร์ ให้คอยติดตามดูความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้.
(Credit : NASA’s Goddard Space Flight Centre)
อ่านเพิ่มเติม...
March 25, 2021 at 10:25AM
https://ift.tt/3vXGLvm
ส่องดูฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงบนดาวเสาร์ - ไทยรัฐ
https://ift.tt/2YfjZyP
No comments:
Post a Comment