Pages

Thursday, July 23, 2020

Online Marketing Trend สิ่งที่ SMEs ต้องเรียนรู้ - ประชาชาติธุรกิจ

sallstargossip.blogspot.com
Smart SMEs
TMB Analytics

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทุกคนทราบกันดีว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มมีระบาดครั้งแรกในเดือน ก.พ.มีการล็อกดาวน์ประเทศ ตามด้วยการผ่อนคลายล็อกดาวน์ หรือผลจากความวิตกกังวลของผู้บริโภคจากการติดเชื้อโควิด-19 อีกครั้งที่จังหวัดระยอง ล้วนสร้างความหวั่นไหวต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งทำให้ SMEs ที่ส่วนใหญ่เป็นการค้าขายและบริการกับผู้บริโภคโดยตรงถูกกระทบอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ผลกระทบดังกล่าวนอกจากจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคและการซื้อสินค้าต่าง ๆ ลดลงแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของพฤติกรรมผู้บริโภคคือ รูปแบบช่องทางการจับจ่ายซื้อสินค้าที่หันมาช็อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ e-Commerce มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจที่จะอยู่รอดในอนาคตจำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์ (e-Commerce) มากขึ้น

จากข้อมูลของ Priceza ในการแถลงข่าว Priceza virtual conference ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของตลาด e-Commerce ไทยปี 2020 คาดการณ์ว่าตลาด e-Commerce ไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2020 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปี 2019 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท โดยพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น ยอดขายออนไลน์ในธุรกิจสุขภาพและความงามและสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 34% เมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนก่อนการระบาด หรือแม้แต่ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แม้ว่าแนวโน้มของภาวะตลาดจะหดตัวตามกำลังซื้อ แต่กลับมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 22% เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ายิ่งผู้ประกอบการมีรูปแบบและช่องทางการจับจ่ายซื้อสินค้าที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ยิ่งทำให้มีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น

จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ SMEs ที่ต้องหารูปแบบช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น หรือจะเป็น platform ออนไลน์ซึ่งผู้บริโภคติดตามอยู่มากหรือกำลังเป็นที่นิยม จากข้อมูล ETDA สัดส่วนมูลค่าตลาด -Commerce ไทยเฉพาะ B2C (business-to-consumer) และ C2C (consumer to consumer) พบว่าช่องทาง e-Marketplace ถือว่าเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการซื้อของออนไลน์มากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสินค้ามากขึ้น จากปี 2018 อยู่ที่ 35% เพิ่มขึ้นมาเป็นสัดส่วนมากที่สุดถึง 47% ในปี 2019 ส่วนของช่องทาง social media และ E-tailer/Brand.com มีมูลค่าการตลาดรองลงมาเท่ากับ 38% และ 15% ตามลำดับ

นอกจาก e-Marketplace ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องแล้ว การซื้อขายออนไลน์บน social media ในลักษณะ micro marketplace ถือเป็นอีกตลาดที่น่าจับตา จากช่วงโควิดที่เกิดกระแสความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของมหาวิทยาลัย และมีการสร้างคอมมิวนิตี้ Facebook group เพื่อเป็นพื้นที่ในการหาสินค้าและบริการที่ต้องการให้แก่นิสิต นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า รวมถึงบุคลากรในการหารายได้ในภาวะวิกฤต ซึ่งตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถดึงทั้งกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามามากถึง 1.06 ล้านคน และมียอดการลงขายของมากถึง 5.4 แสนครั้งต่อเดือน

ดังนั้น การที่ SMEs สามารถปรับใช้รูปแบบช่องทางการตลาดที่เหมาะสมและเข้าถึงกับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับการนำเอา digital ecosystem ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 1) การชำระเงิน (payment) ผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) การบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ และ 3) เครื่องมือวิเคราะห์การตลาดและบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อช่วยตอบโจทย์ธุรกิจ เช่น Google analytics, Facebook insights ย่อมจะทำให้ SMEs สร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น และมีแต้มต่อในการอยู่รอดในยุคโควิด




July 24, 2020 at 06:18AM
https://ift.tt/2ZSuBWw

Online Marketing Trend สิ่งที่ SMEs ต้องเรียนรู้ - ประชาชาติธุรกิจ

https://ift.tt/2AaMG8j

No comments:

Post a Comment