30 สิงหาคม 2563 | โดย ปริญญ์
78
เมื่อพูดถึงนิทาน สิ่งที่พ่อแม่นึกถึงคงเป็นนิทานที่มีภาพสวยงามและใช้คำสละสลวย หลายบ้านจึงเลือกหานิทานที่มีคำบรรยายง่ายๆ และภาษาสวยงามเพื่ออ่านให้ลูกๆ ฟัง แต่รู้ไหมว่ายังมีนิทานประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมในพ่อแม่ยุคใหม่ นั่นคือ "หลังสือไร้ตัวอักษร"
หลายคนอ่านกังลและตั้งคำถามว่าหากใช้ หนังสือไร้ตัวอักษร หรือ Wordless Picture Book กับลูกๆ จะอ่านอย่างไร เล่าเรื่องอย่างไร และถ้าเล่าโดยไม่มีคำประกอบเด็กจะเข้าใจเรื่องราวผิดเพี้ยนไปไหม หรือผู้ใหญ่บางคนอาจมองว่าซื้อแล้วไม่คุ้มเพราะมีเพียงภาพเท่านั้น! ไม่มีคำศัพท์ที่จะช่วยเสริมสร้างทักษะทางภาษาให้แก่เด็กๆ เลย แต่แท้จริงแล้วหนังสือไร้ตัวอักษรมีข้อดีมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อ
นิทานชุด MAMOKO ดูดีดี เมืองนี้มีอะไร หนึ่งในนิทานไร้ตัวอักษร ที่ใช้ภาพประกอบเล่าเรื่องแทน รายละเอียดต่างๆ ในหน้าหนังสือพร้อมจะกระตุ้นให้เด็กๆ ได้สังเกต จินตนาการ และวิเคราะห์เชื่อมโยงเรื่องราวหน้าต่อหน้า และสนุกกับเหตุการณ์ในเล่มตั้งแต่ต้นจนจบ อีกทั้งยังอ่านได้ซ้ำๆ ไม่รู้เบื่อ
ความพิเศษของนิทานชุดนี้คือทุกครั้งที่เปิดอ่าน จะเกิดเป็นเรื่องราวใหม่ๆ เสมอ เพราะภาพแต่ละหน้า องค์ประกอบแต่ละส่วน ตัวละครแต่ละตัว ล้วนเปิดโอกาสทางความคิดให้แก่เด็กๆ และเปิดช่องให้ผู้เล่าอย่างพ่อแม่และครูได้เล่าเรื่องอย่างพลิกแพลง อันทำให้เกิดประโยชน์หลากหลายไม่รู้เบื่อ ส่งเสริมให้ทักษะสมองส่วนการยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive Flexibility) ของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้ทำงานอย่างเต็มที่
ทั้งนี้พ่อแม่อาจเลือกตัวละครสักหนึ่งตัวเพื่อดำเนินเรื่องราวและเล่าให้เด็กๆ ฟัง โดยเริ่มด้วยการดูภาพและเล่าตามสิ่งที่เห็นจากนั้น การสนทนาโต้ตอบ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่กับเด็กก็จะเกิดขึ้น เพราะไม่มีคำบรรยายกำกับ การเล่าเรื่องจึงเป็นไปอย่างอิสระ ไม่มีผิดถูก และข้อดีตรงนี้เองที่จะทำให้ทักษะทางภาษาได้รับการพัฒนา ด้วยการซับซึมภาษาธรรมชาติจากพ่อแม่ และหากเปิดโอกาสให้เด็กลองเล่าเรื่องด้วยตัวเอง ก็จะยิ่งทำให้ทักษะด้านการพูดพัฒนาเช่นกัน เนื่องจากเด็กต้องนำประสบการณ์ที่เคยได้รับจากการฟังและคลังคำศัพท์ที่มีออกมาใช้อย่างเต็มที่ ทำให้นอกจากจะพัฒนาทักษาะทางภาแล้วยังเป็นการพัฒนาทักษะสมอง EF ด้านการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory) และการไตร่ตรอง (Inhibiyory Control) ด้วย
รู้ไหม รู้ไหม ใครหายไปนะ และ มองใกล้ มองไกล นี่ใครกันนะ หนังสือกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ที่มาท้าทายเด็กช่างคิด ด้วยภาพประกอบที่จะทำให้สนุกได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวอักษรแม้แต่น้อย
ภายในเล่มไม่มีโจทย์ชวนเล่นแต่อย่างใด แต่ภาพประกอบในเล่มก็หน้าที่ถ่ายทอดความสนุกและกระตุกต่อมเอ๊ะ! ได้อย่างมหัศจรรย์ ทั้งสองเล่มนี้มีสีสันที่สดใส ชัดเจน โดดเด่น ซึ่งเหมาะกับพัฒนาการในการมองเห็นของเด็กวัย 0-2 ปี และช่วยกระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่เพื่อค้นหาคำตอบด้วยการสังเกต วิเคราะห์ภาพที่เห็น และเชื่อมโยงไปสู่หน้าถัดไป เกิดเป็นการจดจ่อใส่ใจภาพ ชวนให้ยั้งคิดไตร่ตรอง และส่งเสริมการยืดหยุ่นความคิด อันเป็นทักษะสมอง EF นั่นเอง
หนังสือสองเล่มนี้จึงเป็นหนังสือไร้ตัวอักษรที่จะช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาได้ด้วยการดึงคำศัพท์ต่างๆ จากคลังคำศัพท์ในสมองของเด็กๆ มาใช้ ด้วยการกระตุ้นให้พวกเขาอธิบายว่าเห็นอะไร ลักษณะอย่างไร และคิดต่อยอดว่าเรื่องราวจะดำเนินการไปอย่างไร
หนังสือไร้ตัวอักษรจะมีประโยชน์และคุ้มค่าเพียงใดเกิดจากวิธีใช้งานของผู้อ่าน ขอเพียงผู้ใหญ่อย่างเราเปิดใจและกล้าจะใช้หนังสือรูปแบบใหม่ๆ กับเด็ก แต่อย่างไรก็ดี ทุกเล่มมีคำแนะนำที่เขียนโดย ครูก้า – กรองทอง บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและผู้ก่อตั้งโรงเรียนจิตตเมตต์ เพื่อให้นักอ่านรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ได้ใช้หนังสืออย่างเต็มประสิทธิภาพ และสนุกกับการอ่านด้วยกันทั้งครอบครัว
August 30, 2020 at 09:00AM
https://ift.tt/34Le9KA
'หนังสือไร้ตัวอักษร' เทรนด์ใหม่ของพ่อแม่ยุค 4.0 - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/2AaMG8j
No comments:
Post a Comment