Pages

Friday, August 14, 2020

โคเคนทางการแพทย์ มีใช้จริงๆ หรือไม่? - MCOT Plc

sallstargossip.blogspot.com

โคเคน มีใช้ในทางการแพทย์นะ 

โคเคนถูกใช้เป็นยาชารุ่นแรก ๆ อยู่กลุ่ม ester group เช่นเดียวกับ procaine, chloroprocaine และ tetracaine  (เป็นกลุ่มยาชาที่ไม่ค่อยนิยมใช้เหมือนกลุ่มสอง ซึ่งจะอธิบายด้านล่าง)


ยาชาแบบหยอดตา Tetracaine

โดยเจ้าโคเคนนี้ สกัดได้จากใบโคคาที่พบมากในอเมริกาใต้ ซึ่งปัจจุบันยังเป็นแหล่งผลิตโคเคนที่เป็นยาเสพติดสำคัญของโลกมาหลายร้อยปีจนถึงปัจจุบัน เมื่อใช้โคเคนทำให้เกิดอาการฟิน กระปรี้กระเปร่า พูดมากขึ้น สนุกขึ้น

โคเคน เคยเป็นส่วนผสมใน Coke

ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไม coca ชื่อเหมือนเครื่องดื่ม coca cola โคลาโคล่าที่เรากิน เพราะในอดีตใช้ตัวนี้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มนี้จริงๆ เพราะคนพื้นเมืองอเมริกาใต้ก็เคี้ยวใบ Coca ไปทำงานไปนั่นแหละ เพื่อให้สดชื่น เคลิบเคลิ้ม ต่อมาบริษัท Coke ก็นำมาผลิตเครื่องดื่มทำให้คนติดกันงอมแงม แต่ยุติการใช้ในปี 1929 เหลือแต่คาเฟอีนไว้ เพราะโคเคนผิดกฏหมาย


ที่จึงเป็นที่มา ว่าทำไม COKE จึงเป็นคำแสลง หมายถึง Cocaine

[อ้างอิง  what doses COKE mean ?]

เริ่มเอา โคเคน มาใช้ในทางการแพทย์เมื่อร้อยกว่าปีก่อน

สารนี้เริ่มมาใช้เป็นยาชา เพราะคุณสมบัติหลายอย่าง ทั้งชาและไม่ค่อยทำให้เลือดออก แพทย์จึงนิยมใช้ แต่นิยมใช้แบบทาก่อนทำการผ่าตัดเช่น การผ่าตัดตา จมูก ช่องปาก จนเป็นที่นิยมมากใน สหรัฐ ช่วงปี 1880 แต่ไม่กี่ปีต่อมา ก็พบว่ายานี้ทำให้เสพติดได้ทั้งผู้ป่วยและหมอเองที่ใช้แบบผิดๆ  ซึ่งตรงกับรายงานของ Sigmund Freud ซิกมันด์ ฟรอยด์ นักจิตวิเคราะห์คนดังชาวออสเตรีย ที่เรารู้จักกันดี โดย Freud พบว่า ยานี้เสพติดได้และตัวเองก็ติดยานี้ เช่นกัน

ยาชามีกี่แบบ

อย่างที่รู้ ๆ กัน ยาชากลุ่ม ester group นั้นสลายตัวง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับยาชากลุ่มที่สองที่ปัจจุบันนั้นนิยมมากกว่า ที่เรียกว่า amide group เช่นยาชาที่นิยมมากที่สุดในกลุ่มนี้คือ lidocaine 


โดยยาชากลุ่มแรกหรือกลุ่ม ester ที่มี Cocaine เป็นสมาชิกนั้น สลายตัวง่ายมากในเลือด ทำให้ออกฤทธิ์สั้นมาก เพียงไม่เกิน 1 ชั่วโมงครึ่งก็หายไปหมดแล้ว ดังนั้นหากจะใช้ยาแล้วตรวจเลือดเจอ Cocaine ต้องนำตัวอย่างเลือด ไปตรวจให้เร็วไม่เกิน 2 ชั่วโมงหลังได้รับยานี้

สรุปว่ายาชามีสองกลุ่ม มีกลุ่ม ester ที่มี โคเคนด้วย และมีใช้จริงๆในบ้านเรา แต่ ยากลุ่มนี้แทบไม่มีใครใช้ แถมหมอส่วนหนึ่งไม่ทราบว่ามียานี้ด้วยซ้ำ

 

อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่ม amide ซึ่งคือยาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เช่นยา lidocaine ในเมื่อ lidocaine ไม่ใช่ยาชากลุ่มเดียวกับ โคเคน ดังนั้นการตรวจเจอ โคเคนในเลือดหลังทำฟันด้วยการใช้ยาชาปกติที่เราใช้กัน จึงเป็นไปไม่ได้

เราจะตรวจเจอโคเคนในเลือดในกรณีดังต่อไปนี้

1. มีการเสพโคเคน

2. มีการใช้ยาชาที่มีส่วนผสมของโคเคน (Cocaine HCL) จริงๆ แต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนการตรวจ

สรุปว่ายาชาในทางแพทย์และทันตกรรมที่มีโคเคน นั้นมีอยู่จริงๆ

โดยเป็นโคเคนในรูปผง Cocaine HCl และถูกขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่สอง แบบเดียวกับมอร์ฟีน เป็นสารผิดกฏหมายหากใช้เอง แต่ยากลุ่มนี้ สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา หรือ อ.ย. นำเข้ามาจำหน่ายให้สถานพยาบาลที่ต้องการใช้อย่างเข้มงวด โดยต้องไปขึ้นทะเบียนครอบครองยาเสพติดก่อนการใช้

การจ่ายยาทุกครั้ง ต้องมีแบบบันทึก รายงานการใช้ ส่ง อ.ย. ทุกครั้งก่อนซื้อล็อตใหม่


ดังนั้นการตรวจสอบว่ามีการใช้โคเคนจึงทำไม่ยากว่า ใครเป็นผู้จ่ายยานี้ จ่ายมาจากคลินิกไหน จ่ายให้เมื่อไหร่ ให้กับใคร วันเวลาไหนและจำนวนเท่าไร  เพราะคนที่เบิกไป น่าจะมีน้อยมากๆ

การตรวจเลือดและปัสสาวะหาโคเคน

เราสามารถตรวจหาโคเคนได้จากเลือดและปัสสาวะ ไม่ว่าโคเคนนั้นมาจากยาชา (เฉพาะยาชา Cocaine HCL) หรือ มาจากการเสพโคเคนก็ตาม แต่เนื่องจากการใช้เป็นยาชา โดยเฉพาะยาทานั้น มีปริมาณของโคเคนน้อยมากๆ และสลายตัวได้ง่าย โอกาสตรวจเจอจะต่ำกว่าการเสพโคเคนที่ใช้ในปริมาณสูงกว่าหลังการเสพโคเคนไปแล้ว ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงโคเนเป็นสารอื่นเพื่อเตรียมการกำจัดออกไป โดยจะเปลี่ยนแปลงเป็นสารที่ชื่อว่า benzoylecgonine และ ecgonine methyl ester ซึ่งการตรวจเจอสารนี้ ถือเป็นการยืนยันว่าตรวจเจอโคเคนจริงอีกทั้งเมื่อเสพโคเคนร่วมกับแอลกอออล์ เราก็จะตรวจเจอสารอีกตัวเพิ่มขึ้น คือสาร cocaethylene ก็จะยืนยันผลว่า มีการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์

สรุปว่าตรวจเจอโคเคน แล้วไม่ได้เสพโคเคน แต่ไปทำฟันมาเป็นไปได้ไหม

โอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ซึ่งต้องตรวจว่ามีการใช้ยา Cocaine HCL ในคนไข้จริงหรือไม่ ก็ต้องใช้การสืบพยาน สภาพแวดล้อม ตรวจการใช้ยา วันเวลาที่ใช้ยาและวันเวลาที่เจาะเลือด และที่สำคัญต้องตรวจใน 1.5 ชั่วโมง หลังให้ยาชาตัวนี้ ก่อนสลายไป

แต่หากใช้ยาชาธรรมดาทั่วไป เช่น lidocaine หรือที่หมอฟันนิยมใช้คือ mepivacaine ถือว่าเป็นไปไม่ได้ ไม่มีทางตรวจเจอสารประกอบที่เกิดจากโคเคนแน่นอน เพราะยาเป็นคนละกลุ่ม

บทความโดย  นพ.สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์   


แพทย์ผู้คร่ำหวอดจากวงการความงามมานานกว่า  20 ปี  อยากถ่ายทอดความรู้ทางการแพทย์ในแบบง่ายๆ หากมีคำถามติดต่อ suthipong@rattinan.com  หรือ www.rattinan.com ได้ครับ




August 14, 2020 at 04:33PM
https://ift.tt/2DTxKwT

โคเคนทางการแพทย์ มีใช้จริงๆ หรือไม่? - MCOT Plc

https://ift.tt/2AaMG8j

No comments:

Post a Comment